วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พื้นฐานเทคนิคทั่วไปของระบบโทรคมนาคม


จากวิวัฒนาการระบบโทรคมนาคมหลักของโลกที่มนุษย์สร้างสรรค์ เมื่อนำมาประกอบกันเพื่อพิจารณาในมุมมองด้านเทคนิค สามารถทำความเข้าใจได้จากภาพรวมรูปที่ ๖.๑ การสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบส่วนบุคคลในขอบเขตเครือข่ายระดับท้องถิ่นหรือ ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ จนถึงการติดต่อสื่อสารข้ามประเทศ โครงสร้างของระบบโทรคมนาคมดังกล่าวจะมีองค์ประกอบพื้นฐานคล้ายกัน คือ มีส่วนย่อยของระบบประกอบด้วย อุปกรณ์สื่อสารต้นและปลายทาง (Terminal Unit) ระบบสื่อสัญญาณ (Transmission System) และระบบตัดต่อหรือชุมสาย (Switching System) และเมื่อนำมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ก็จะกลายเป็นเครือข่ายของผู้ใช้งานหรือผู้เข้าถึงเครือข่าย (Access Networks) ที่เชื่อมต่อเข้ากับชุมสายท้องถิ่น (Local Switching, Local Exchange, Central Offices) ซึ่งอาจจะโดยการใช้ระบบคู่สายส่งหรือสายนำสัญญาณ เส้นใยนำแสง หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น หลังจากนั้นจากเครือข่ายระดับท้องถิ่นจะได้รับการเชื่อมโยงร่วมกับเครือข่ายท้องถิ่นอื่น ๆ รวมถึงเครือข่ายระดับภูมิภาค หรือระดับชาติผ่านไปยังชุมสายทางไกล (Transport Network, Tandem Exchanges, Toll/Trunk Exchange) โดยอาจเชื่อมโยงด้วยระบบวิทยุ สายเคเบิล เส้นใยนำแสง หรือดาวเทียม เช่นเดียวกันสำหรับการเชื่อมโยงในระดับการสื่อสารข้ามประเทศผ่านทางชุมสายทางไกลต่างประเทศ (International Exchange) ซึ่ง ทั้งหมดนี้อาจอยู่บนพื้นฐานโครงสร้างการเชื่อมโยงและการตัดต่อทางวงจรไฟฟ้า (Circuit Switching) เพื่อการสื่อสารได้ทั้งเสียง ภาพและข้อมูล หรือระบบถัดมาแบบใหม่กว่า ที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ต่อมานั้น คือ เชื่อมโยงด้วยการตัดต่อข้อมูลแบบกลุ่มข้อมูล (Packet Switching) ของเครือข่ายแบบเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (Internet Protocol: IP)



ที่มา: http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Definition_of_Telecommunications/index.php